วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

การพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Development of Basic Education School Monitoring Model

ผู้วิจัย นายสุเทพ บุญเติม
อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกอร สมปราชญ์
รองศาสตราจารย์ ดร.นิตย์ บุหงามงคล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทวีชัย บุญเติม

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 2) พัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 3) นำเสนอรูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะคือระยะแรกเป็นการศึกษาสภาพปัจจุบันของรูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดย 1)การศึกษาเอกสาร 2) สำรวจ 175 เขตพื้นที่การศึกษา 3) สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 18 คน 4) ศึกษารายกรณี(Case study)โรงเรียนที่มีประสิทธิผล 1 โรง เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่สองเป็นการพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยประชุมสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 284 คนสรุปผลจากการสัมมนานำมาพัฒนารูปแบบและนำไปทดสอบการใช้รูปแบบในโรงเรียนตัวอย่าง 3 ขนาดนำผลจากการทดสอบมาสรุปได้รูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และระยะที่สามจัดประชุมสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 21คน เพื่อวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะรูปแบบ ในระยะที่สองและระยะที่สามวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) การรายงานข้อค้นพบ(Descriptive Methodology) การตีความหมาย (Interpretive Methodology) และการวิเคราะห์วิจารณ์ (Critical Methodology)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัจจุบันของการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีการจัดระบบการกำกับติดตามและประเมินผลในทุกเขตพื้นที่การศึกษาค่อนข้างมากโดยพิจารณาจากข้อมูลการศึกษาเชิงสำรวจ มีการกำหนดแผนการกำกับติดตามงานไว้เป็นระยะ มีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้การกำกับติดตาม โดยมีหลักการที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและชุมชน ท้องถิ่นมีโอกาสเข้าร่วมกำหนดเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกำกับติดตามกับหน่วยงานคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
2. รูปแบบการกำกับติดตามมี 2 รูปแบบคือ 1) จากบนลงสู่ล่าง (Top-down) 2) จากภายนอกและภายใน (Outside-in/Inside-out) โดยใช้หลักการกำกับติดตาม คือ หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
3. กระบวนการกำกับติดตาม (Monitoring process) มีขั้นตอนสำคัญ 7 ขั้นตอนคือ1) กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ “กำหนดเป้าหมาย” 2) จัดทำแผนกำกับติดตาม “พอใจร่วมทำแผน” 3) จัดทีมงานกำกับติดตาม “มีแกนนำพร้อมทีมงาน” 4) ลงมือปฏิบัติกำกับติดตามตามแผน “มุ่งมั่นปฏิบัติ” 5) ตรวจสอบผลกำกับติดตาม “จัดตรวจสอบงานต่อเนื่อง” 6) รายงานผลกำกับติดตาม “สรุปเรื่องรายงาน” 7) ทบทวนการกำกับติดตาม “ทบทวนสานต่อ”
Abstract
The objectives of this study were: 1) to study current status of basic education monitoring of the Office of Basic Educational Service Area, 2) to develop the basic education School monitoring model of the Office of Basic Educational Service Area, and 3) to propose the model of basic education school monitoring model of the Office of Educational Service Area. There were 3 stages of implementation: the first stage including the study of current status and outlining model of basic education school by documentary study, data collecting from 175 of Educational Service Areas, interviewing 18 experts, and case study from one effective school by using questionnaire and interview form as the instruments of data gathering. The questionnaire was 5 levels rating scale with its reliability coefficient of the total issue as 0.97. Data were analyzed by calculating percentage, mean, and standard deviation. For the second stage, the model of basic education school monitoring was outlined by offering seminar for 284 of basic education administrators in the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 2. The findings from seminar were summarized to develop model and tested for model use in 3 different sizes of sample schools. The tested findings were brought to summarize as model of Basic Education School. The third stage, the seminar of 21 experts was held for criticizing and recommendation for model. For the second and third stage, data were analyzed by using content analysis, descriptive methodology, interpretative methodology, and critical methodology.
The research findings were as follows :
1. The current status of basic education monitoring included the organization of monitoring and assessment in every educational service area in rather highly considering from information of survey study with periodical monitoring of work, specification of standard criterion and indicator of monitoring. The important principle was participation of basic education school and community. Locality had an opportunity to participate in specifying goal of standard criterion and indicator as well as participation in monitoring with the office as educational service area and School.
2. The model of monitoring included Top-down model and Outside-in/Inside-out model with principle of monitoring as participative principle.
3. The proposed monitoring model included 7 major stages: 1) goals and criterion specification(formulation), 2) monitoring planning, 3) team building, 4) implementation, 5) monitoring Audit, 6) monitoring report, and 7) monitoring replan.

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การจัดโครงสร้างของกระทรวงศึกษาธิการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 ได้แบ่งส่วนงานออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนกลาง และเขตพื้นที่การศึกษา (สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545) โดยส่วนกลางมี 6 ส่วนราชการ คือ สำนักงานรัฐมนตรี สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษาและส่วนเขตพื้นที่การศึกษา แยกเป็น 2 ส่วน คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยให้สถานศึกษาที่เป็นโรงเรียนมีฐานะเป็นนิติบุคคล(กระทรวงศึกษาธิการ, 2546) และความเป็นนิติบุคคลจะทำให้โรงเรียนมีความเป็นอิสระโดยได้รับการกระจายอำนาจจากส่วนกลางโดยตรง(รุ่ง แก้วแดง,2546)
อย่างไรก็ตาม แม้โรงเรียนจะมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ แต่การบริหารจัดการศึกษาก็ยังคงอยู่ภายในขอบเขตและหลักการตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำกับดูแล จัดตั้ง ยุบ รวมหรือเลิกสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตพื้นที่การศึกษา (กระทรวงศึกษาธิการ, 2546)
งานในหน้าที่ของผู้บริหาร มีองค์ประกอบที่สำคัญ(ถวิล เกื้อกูลวงศ์, 2530) คือ 1) งานวางแผน (Planning) 2)การจัดองค์การ (Organizing) 3) การจูงใจ ( Motivating) รวมถึงการอำนวยการ (Directing) การติดต่อสื่อสาร(Communicating ) และการเป็นผู้นำในการดำเนินการ(Leading) และ 4)การควบคุมงาน(Controlling) เป็นการกำกับติดตามและประเมินผลเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานกับแผนที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสัมฤทธิผลตามแผนที่วางไว้แล้ว หากผลงานเบี่ยงเบนไปจากความคาดหวังที่ตั้งไว้ก็จะต้องนำผลการประเมินไปปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม ดังนั้น ผู้วิจัยในฐานะที่เป็นผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่และมีหน้าที่รับผิดชอบกำกับดูแลซึ่งเป็นหน้าที่ทางการบริหารโดยเฉพาะการควบคุมงานในลักษณะการกำกับติดตาม(Monitoring)และการประเมินผล(Evaluation) จึงมีความสนใจที่จะพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารจัดการศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป

วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
2. เพื่อพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
3. เพื่อนำเสนอรูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

วิธีดำเนินการวิจัย
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้ มีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 มีวิธีการศึกษาคือ การศึกษาเอกสาร(Documentary study) การศึกษาเชิงสำรวจ(Survey study) และการศึกษารายกรณี(Case study) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศทุกเขตพื้นที่ จำนวน 175 คน สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 18 คนและโรงเรียนตัวอย่างในการศึกษารายกรณี 1 โรงเรียน เครื่องมือในการวิจัยคือ การศึกษาเอกสาร การศึกษาเชิงสำรวจมีแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การศึกษารายกรณีมีการศึกษาเอกสาร การสังเกต สอบถามและสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยวิเคราะห์เนื้อหา จากการศึกษาเอกสาร การศึกษากรณีตัวอย่าง(Case study)และวิเคราะห์แบบสอบถามโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน(บุญชม ศรีสะอาด, 2538) และการวิเคราะห์เกี่ยวกับรูปแบบและตัวบ่งชี้โดยใช้หลักเกณฑ์การวิเคราะห์ หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC : Item-objective congruence) (Hambleton,1978)
ระยะที่ 2 จัดสัมมนาผู้บริหารในเขตพื้นที่การศึกษาตัวอย่างจำนวน 284 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสังเกต การสัมภาษณ์และการบันทึกผลการอภิปรายและแบบทดสอบการใช้รูปแบบในโรงเรียนตัวอย่าง วิเคราะห์เนื้อหาและหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ระยะที่ 3 จัดสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเสนอแนะและตรวจสอบรูปแบบการกำกับติดตาม จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ การสังเกต การสัมภาษณ์และการบันทึกผลการอภิปราย
ดังภาพที่ 1













สรุปผลการวิจัย
1. จากการศึกษาในระยะที่ 1 (Phase 1) สรุปผลได้ดังนี้
1.1 การกำกับติดตามเป็นกิจกรรมสำคัญของกระบวนการควบคุมการปฏิบัติงาน ให้สำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบาย และพบว่า รูปแบบการกำกับติดตามยังเป็นการกำกับติดตามโดยหน่วยงานนโยบายในลักษณะบนลงสู่ล่าง (Top-down) มีหลักการสำคัญประกอบด้วย หลักองค์รวม (Holistic) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักเครือข่าย (Network) หลักบูรณาการ หลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)
1.2 จากการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey study) พบว่า รูปแบบและวิธีการกำกับติดตามสถานศึกษามีหลายรูปแบบ โดยเป็นการกำกับติดตามในลักษณะจากบนลงสู่ล่าง (Top-down) และองค์คณะบุคคลตามกฎหมาย และพบว่ากระบวนการกำกับติดตาม ประกอบด้วย มีการจัดระบบ จัดทำแผน กำหนดมาตรฐาน ตัวบ่งชี้และเป้าหมายโดยเน้นการมีส่วนร่วม มีการพัฒนาเครื่องมือ คณะกรรมการและชุมชนร่วมกำกับติดตาม มีการวิเคราะห์ผลนำไปปรับปรุงพัฒนาและรายงานผล ส่วนตัวบ่งชี้ตามมาตรฐานวิเคราะห์ได้ 63 ตัวบ่งชี้
1.3 จากการศึกษารายกรณี (Case study) ของโรงเรียนตัวอย่างใน 4 ภาระงาน พบว่า รูปแบบการกำกับติดตามภายในสถานศึกษาที่เน้นการมีส่วนร่วม โดยมีหลักการกำกับติดตาม คือ หลักการมีส่วนร่วม(Participation) หลักองค์รวม (Holistic) และหลักการการบริหารโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School- Based Management) และมีกระบวนการกำกับติดตาม คือ การกำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ การจัดทำแผน การจัดทีมงาน ดำเนินตามแผน การวิเคราะห์ผลกำกับ ปรับปรุงพัฒนา และรายงานผลการกำกับ ผลผลิตและผลลัพธ์ที่ได้ คือผู้เรียน เป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข ผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษาและโรงเรียนเป็นที่ยอมรับศรัทธาของชุมชนและท้องถิ่น มีการบริหารจัดการงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ผลการศึกษาในระยะที่ 2 (Phase 2) สรุปได้ดังนี้
2.1 ผลการสัมมนาผู้บริหารสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษากลุ่มตัวอย่าง มีประเด็นที่สำคัญ คือ เกี่ยวกับห้วงเวลา ต้องย้อนกลับผลการกำกับติดตามเพื่อการปรับปรุงพัฒนาได้อย่างต่อเนื่องทันที รูปแบบการกำกับติดตามควรมีการกำกับติดตามทั้งภายนอก (Outside- in) และภายในสถานศึกษา(Inside-out) โดยการกำกับติดตามภายในจะต้องควบคู่ไปกับการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และการกำกับติดตามจากภายนอกสถานศึกษา ต้องเน้นแนวทางการใช้มาตรฐานการศึกษาเป็นตัวบ่งชี้ในการกำกับติดตาม และถ้ามีจุดเน้นนโยบายเพิ่มเติม ควรกำหนดในกรอบมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านหลักการกำกับติดตามควรมี หลักการมีส่วนร่วม (Participation) หลักองค์รวม (Holistic) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization) หลักเครือข่าย (Network) และหลักการการบริหารโดยยึดโรงเรียนเป็นฐาน (School-Based Management) และกระบวนการกำกับติดตามมี 7 ขั้นตอน คือ กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ จัดทำแผน จัดทีมงาน ดำเนินตามแผน ตรวจสอบผลกำกับติดตามและปรับปรุงพัฒนา การรายงานผล และการทบทวนการกำกับติดตามเพื่อย้อนกลับ (Feed back) แผนกำกับ
2.2 การทดสอบการใช้รูปแบบการกำกับติดตาม ในระยะที่ 1 พบว่า โรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดกลางอยู่ในระดับดี ส่วนโรงเรียนขนาดเล็กอยู่ในระดับพอใช้ และหลังจากได้ประเมินในระยะที่ 2 พบว่า อยู่ในระดับดีทุกขนาดโรงเรียน เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ย พบว่า การประเมินระยะที่ 2 ให้ผลสูงกว่าการประเมินระยะที่ 1
3. ผลการศึกษาในระยะที่ 3 (Phase 3) พบว่า รูปแบบที่ได้จะต้องเฉพาะเจาะจง (Specific) มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจน และเป็นองค์ความรู้ใหม่
จากผลการศึกษาตั้งแต่ระยะที่ 1 – 3 สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. แนวคิดการกำกับติดตาม
•เป็นกระบวนการควบคุมการปฏิบัติงานให้ได้ตามเป้าหมาย
•ปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาการปฏิบัติงานได้ทันเวลาในระหว่างดำเนินการ
2. แนวทางการกำกับติดตาม
•รูปแบบจากบนลงสู่ล่าง(Top-down)
•รูปแบบการกำกับติดตามจากภายนอกและภายใน(Outside-in/Inside-out)
3. หลักการสำคัญที่ใช้ในการกำกับติดตาม คือ หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
4. กระบวนการในการกำกับติดตาม มี 7 ขั้นตอน คือ
4.1 กำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ หรือข้อตกลง (กำหนดเป้าหมาย)
4.2 จัดทำแผนกำกับติดตาม(พอใจร่วมทำแผน)
4.3 จัดทีมงาน(มีแกนนำพร้อมทีมงาน)
4.4 ลงมือปฏิบัติ(มุ่งมั่นปฏิบัติ)
4.5 ตรวจสอบกับเป้าหมาย/ข้อตกลง(จัดตรวจสอบต่อเนื่อง)
4.6 รายงานผล(สรุปเรื่องรายงาน)
4.7 ทบทวนแผนกำกับ(ทบทวนสานต่อ)

อภิปรายผลการวิจัย
1. สภาพปัจจุบันของการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า มีการจัดระบบการกำกับติดตามและประเมินผลในทุกเขตพื้นที่การศึกษาค่อนข้างมาก มีการกำหนดแผนการกำกับติดตามงานไว้เป็นระยะ มีการกำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้การกำกับติดตาม โดยมีหลักการที่สำคัญคือ การมีส่วนร่วมของสถานศึกษาและชุมชน ท้องถิ่นมีโอกาสเข้าร่วมกำหนดเป้าหมายมาตรฐานและตัวบ่งชี้ รวมทั้งการมีส่วนร่วมกำกับติดตามกับหน่วยงานคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดในการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน(School-Base Management) ที่เปิดโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและบริหารโรงเรียนในรูปคณะกรรมการ โดยมีความเชื่อว่า การตัดสินใจที่ดีที่สุดเกิดจากการตัดสินใจของคณะบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดและมีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียนมากที่สุด(Wohlstetter, 1995 อ้างถึงใน อุทัย บุญประเสริฐ, 2546) สำหรับวิธีการกำกับติดตามมีหลายวิธีที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการนอกจากการออกกำกับติดตามภาคสนามแล้ว ยังมีวิธีอื่น คือ การจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่พร้อมกับการกำกับติดตามงานสถานศึกษาของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา การจัดระบบเครือข่ายหรือศูนย์เครือข่ายการศึกษาเพื่อการมีส่วนร่วมช่วยเหลือซึ่งกันและกัน การใช้ระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อกำกับติดตามงานผ่านระบบ On Web ในทั้ง 4 ภาระงาน โดยจัดให้มีระบบอีเล็คโทรนิคในการรายงานผลและการติดต่อสื่อสาร คือ ระบบ e-academic monitoring(งานวิชาการ) ระบบ e-personnel monitoring (งานบริหารบุคคล) ระบบ e-budget monitoring (งานบริหารงบประมาณ) ระบบ e-admin monitoring(งานบริหารทั่วไป)
2. ปัญหาในการกำกับติดตามนั้น มีปัญหามากทุกด้านในแต่ละเขตพื้นทีการศึกษา โดยเฉพาะปัญหาด้านบุคลากร พบว่า บุคลากรขาดความรู้ความสามารถด้านวิชาการ ขาดความรู้เฉพาะด้านในการปฏิบัติงาน ทำให้มีผลกระทบกับการปฏิบัติงาน คือ ปฏิบัติงานไม่ถูกต้อง งานล่าช้า ทำให้ขาดการกำกับติดตามงาน ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการติดตามประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาด้านการบริหารและการจัดการศึกษา เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548 ที่พบว่า ข้าราชการ ก.พ.ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขาดโอกาสในทุกเรื่องและไม่ได้รับการพัฒนาทำให้ขาดขวัญกำลังใจในการทำงาน(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2549) นอกจากนี้ ในเขตพื้นที่การศึกษาบางเขตขาดความร่วมมือจากชุมชนและท้องถิ่นและบางเขตพื้นที่การศึกษา ชุมชนไม่มีส่วนร่วมเท่าที่ควร อาจะเป็นเพราะว่า ชุมชนและท้องถิ่น ยังไม่เข้าใจในการปฏิรูปการศึกษาที่มีการปรับเปลี่ยนทั้งด้านกฎหมายและโครงสร้างในการบริหารการศึกษาใหม่ในรูปแบบเขตพื้นที่การศึกษา ทำให้ไม่กล้าตัดสินเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาเท่าที่ควร และคณะกรรมการบางท่านยังไม่เข้าใจบทบาทของตนเอง ขาดความพร้อมและขาดศักยภาพ(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2549)
3. ในการพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน รูปแบบเดิมเคยมีวัฒนธรรมการทำงานในลักษณะจากข้างบนลงสู่ข้างล่าง (Top-Down) มาโดยตลอด สถานศึกษาไม่กล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเองได้ จึงมีความพยายามที่จะให้โรงเรียนได้เปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานใหม่ ซึ่งมีบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในมาตรา 9 การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษาให้ยึดหลักเอกภาพด้านนโยบายแต่มีความหลากหลายในการปฏิบัติและการกระจายอำนาจในการจัดการศึกษาไปที่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ทำให้สถานศึกษามีอำนาจในการตัดสินใจในระดับปฏิบัติได้เองโดยไม่ต้องรอคำสั่งจากหน่วยเหนือเหมือนในอดีต ซึ่งสอดคล้องกับหลักการกระจายอำนาจซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ (David, 1989 อ้างถึงในวิโรจน์ สารรัตนะ, 2543) คือ ความเป็นอิสระ (Autonomy) และการตัดสินใจแบบมีส่วนร่วม (Participatory decision making) ดังนั้น ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา เมื่อมีการกระจายอำนาจการบริหารในรูปแบบเขตพื้นที่ จึงให้มีประชาชนในท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมบริหารในรูปคณะกรรมการทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา(สำนักงานปฏิรูปการศึกษา, 2545) โดยเฉพาะให้สถานศึกษาเป็นนิติบุคคล ทำให้สถานศึกษาบริหารตนเองได้อย่างอิสระ(รุ่ง แก้วแดง, 2546) อย่างไรก็ตาม การกระจายอำนาจยิ่งกระจายมากเท่าใด ยิ่งต้องเพิ่มการควบคุม กำกับและติดตามผลการดำเนินงานตามมาตรฐานที่ส่วนกลางกำหนดให้มากขึ้น(Lowe Boyd, 1992 อ้างถึงในวิโรจน์ สารรัตนะ, 2543) หน้าที่ของคณะกรรมการและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จึงถูกกำหนดไว้ในกฎหมายให้มีหน้าที่ในการกำกับและติดตาม ดูแลการดำเนินงานของสถานศึกษาในสังกัดให้เหมาะสมตามนโยบายและตามกฎหมาย(นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2545) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจึงมีบทบาทในฐานะผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) เป็นพี่เลี้ยงในทางวิชาการ กำหนดนโยบายและแผนในภาพรวม แต่ต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดการรวมอำนาจไว้ที่เขตพื้นที่การศึกษา โดยต้องมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นเป้าหมายสำคัญ(รุ่ง แก้วแดง, 2546)
4. รูปแบบที่เป็นข้อค้นพบใหม่ในการวิจัยครั้งนี้ ก็คือ รูปแบบการกำกับติดตามภายในสถานศึกษา เป็นบทบาทของสถานศึกษาที่จะเลือกตัดสินใจหาวิธีปฏิบัติที่ดีที่สุด(Best Practice) เพื่อนำมาใช้ในสถานศึกษาให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียนมีประสิทธิผล(Effective School) Caldwell และ Spinks (อ้างในวิโรจน์ สารรัตนะ, 2543)ได้สรุปว่า ลักษณะของโรงเรียนที่มีประสิทธิผลนั้นประกอบด้วย 4 เรื่องใหญ่ คือ 1) เน้นเรื่องการเรียนการสอน โดยผู้บริหารจะต้องเป็นผู้นำทางการศึกษา(Educational Leadership) 2) ความสามารถได้รับการตรวจสอบได้ทั้งจากท้องถิ่น จากรัฐและจากส่วนกลาง 3) การมีส่วนร่วมอย่างเหมาะสมจากครู ผู้ปกครอง และนักเรียน และ 4) การมีแผนงานเพื่อพัฒนาในวิชาชีพ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะส่งผลต่อความมีประสิทธิผลของโรงเรียน
รูปแบบในการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่นำเสนอในการวิจัยครั้งนี้ จึงเปรียบเทียบได้กับรูปแบบที่เคยปฏิบัติมาในอดีต ในแง่มุมบทบาทขององค์กรในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคหรือเขตพื้นที่การศึกษาในปัจจุบัน ดังภาพที่ 2










จากภาพที่ 2 จะเห็นได้ว่า ในรูปแบบปัจจุบันจะเป็นลักษณะจากบนสู่ล่าง (Top-Down) เพียงรูปแบบเดียวตามสายการบังคับบัญชา แต่รูปแบบที่เป็นข้อค้นพบใหม่ จะผสมผสานทั้งที่เป็นรูปแบบจากบนสู่ล่าง และการกำกับติดตามในรูปแบบภายในและภายนอกสถานศึกษาภายในกรอบของเขตพื้นที่การศึกษา ซึ่งจะเห็นความแตกต่าง เนื่องจากมีการกระจายอำนาจตามกฎหมายให้แก่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา กลไกการบริหารระดับเขตพื้นที่การศึกษากับสถานศึกษาจึงเป็นกลไกการประสานงานในแนวนอน (Horizontal co-ordination) จะทำให้เกิดความรวดเร็วในการประสานงาน สามารถสร้างความสัมพันธ์ของบุคคลในระดับเดียวกัน(วิโรจน์ สารรัตนะ, 2546) ระหว่างกลุ่มงานในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับสถานศึกษา
รูปแบบการกำกับติดตามภายในสถานศึกษาที่เสนอไว้ ประกอบด้วย
1) รูปแบบการกำกับติดตามตนเอง (Self-Monitoring Model) จะทำให้ครูและบุคลากรมีความรับผิดชอบมากขึ้น มีหน้าที่กำกับติดตามและประเมินตนเอง พร้อมกับรายงานผลตามข้อตกลงที่ตนเองได้จัดทำข้อตกลงกับผู้บริหารสถานศึกษา
2) รูปแบบการกำกับติดตามแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในสถานศึกษา (Participatory Monitoring Model) มีทีมงาน คณะทำงาน หรือคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ในการกำกับติดตามการปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงานทุกคนในองค์กรหรือสถานศึกษา
3) รูปแบบการกำกับติดตามแบบการมอบหมายบุคลากรภายใน (Delegation-Monitoring Model) โดยผู้บริหารจะมอบหมายให้รองผู้บริหาร ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น เป็นผู้กำกับติดตามตามที่ได้รับมอบหมาย โดยต้องให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายดำเนินการตามแผนการกำกับติดตาม และมีการรายงานผลตามกำหนด
สรุป รูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย นโยบายและมาตรฐานที่จะต้องกำกับติดตาม และกระบวนการ 7 ขั้นตอน คือ 1) กำหนดเป้าหมาย(Set Goals) 2)การจัดแผนกำกับ (Monitoring Planning) “พอใจร่วมทำแผน” 3) การจัดทีมงานตามแผนกำกับ (Team building) “มีแกนนำพร้อมทีมงาน” 4) ลงมือปฏิบัติตามแผนกำกับติดตาม (Implementation) “มุ่งมั่นปฏิบัติ” 5) ตรวจสอบการกำกับติดตาม (Monitoring Audit) “จัดตรวจสอบงานอย่างต่อเนื่อง” เพื่อปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนา ส่งผลให้ “เรืองรุ่งองค์กร” 6) การรายงานผล (Monitoring Report) “สรุปเรื่องรายงาน” และ 7) ทบทวนผลการกำกับติดตาม (Monitoring Replan) “ทบทวนสานต่อ” ดังภาพที่ 3





































ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลวิจัยไปใช้
1.1 สำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ในการกำกับติดตามภายในสถานศึกษา เป็นหน้าที่ทางการบริหาร(Management function) ผู้บริหารสถานศึกษาควรนำไปใช้ในสถานศึกษา ดังนี้
• รูปแบบการกำกับติดตามตนเอง ควรดำเนินการ 1) จัดประชุมครูและบุคลากรทุกคนเพื่อทำความตกลงร่วมกัน 2) ควรวิเคราะห์งานไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน 3) จัดทำร่างข้อตกลงให้สอดคล้องกับเป้าหมายและเกณฑ์ของสถานศึกษา 4) เสนอแผนของตนเองต่อผู้บริหารสถานศึกษา 5) ผู้บริหารตรวจสอบแผนและอนุมัติแผน 6) ลงนามในข้อตกลงกับผู้บริหารสถานศึกษา 7) ปฏิบัติตามข้อตกลง 8) ตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อตกลงและปรับปรุงแก้ไขพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง 9) รายงานผลการปฏิบัติงานตามกำหนด
• รูปแบบการกำกับติดตามแบบมีส่วนร่วม (Participatory Monitoring) ผู้บริหารสถานศึกษาควรจัดประชุมครูและบุคลากรตามความเหมาะสม เพื่อสร้างความตระหนักและความเข้าใจในเบื้องต้นก่อน
• รูปแบบการกำกับติดตามแบบการมอบหมายบุคลากรภายใน (Delegation-Monitoring) โดยมอบหมายให้รองผู้บริหาร ครูหรือบุคลากรทางการศึกษาอื่น เป็นผู้กำกับติดตามทั้งนี้ต้องให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ในการกำกับติดตาม และมีการรายงานผลตามกำหนด
1.2 สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา
ควรทำความเข้าใจในบทบาทหน่วยงานและองค์คณะบุคคลที่เกี่ยวข้อง เกี่ยวกับ 1) บทบาทหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา 2) การกำหนดเป้าหมายและเกณฑ์ในการกำกับติดตามงาน 3) การวางแผนกำกับติดตามงาน 4) รูปแบบในการกำกับติดตาม 5) การพัฒนาปรับปรุงงาน 6) การใช้เวลาในการกำกับติดตาม 7) การจัดตั้งทีมงาน 8) รูปแบบที่ควรพิจารณาประยุกต์ใช้
1.3 สำหรับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นองค์กรหลักในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของชาติ(สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2548) ควรพิจารณาดำเนินการ 1) ควรมีการสังเคราะห์รูปแบบจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ แล้วนำไปเป็นรูปแบบของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และจะต้องเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายกับหน่วยงานอื่นในกระทรวงเดียวกันและต่างกระทรวงด้วย 2)ควรจะเน้นการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมในการทำงานของหน่วยงานและบุคลากรทุกระดับ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแนวคิดในการทำงานอย่างสร้างสรรค์ สามารถคิดพัฒนางานที่รับผิดชอบได้เองโดยไม่ต้องรอให้หน่วยเหนือหรือผู้บังคับบัญชา 3) ควรสนับสนุนให้หน่วยงานในสังกัดทุกระดับใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยในการกำกับติดตาม โดยมีการขอจัดตั้งงบประมาณสำหรับการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของหน่วยงานทุกระดับ



2. ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยครั้งต่อไป
2.1 ควรทำการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการกำกับติดตามและการพัฒนารูปแบบการกำกับติดตามสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาระงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ และอาจจะวิจัยในเชิงลึก ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารงานในภาระงานนั้นต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อจะได้พัฒนารูปแบบการกำกับติดตามได้เฉพาะเจาะจงกับสาเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ
2.2 ควรมีการวิจัยเพื่อหารูปแบบการกำกับติดตามที่เหมาะสม โดยศึกษาเปรียบเทียบในในโรงเรียนที่มีประสิทธิผลกับโรงเรียนโดยทั่วไป เพื่อค้นหารูปแบบที่เหมาะสมในการกำกับติดตามงานในสถานศึกษาทั้งสองประเภท
2.3 ควรวิจัยเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) ของการกำกับติดตาม โดยอาจจะวิจัยในเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง เพื่อให้ได้องค์ประกอบที่เหมาะสมกับบริบทในเขตพื้นการศึกษานั้น

เอกสารอ้างอิง

ถวิล เกื้อกูลวงศ์. (2530). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
นงลักษณ์ วิรัชชัย.(2545) รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับการประเมินการ
บริหารและการจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธารอักษร.
บุญชม ศรีสะอาด. (2538). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปฏิรูปการศึกษา, สำนักงาน. (2545). แนวทางการบริหารและการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่
การศึกษาและสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : บริษัท พิมพ์ดี จำกัด.
รุ่ง แก้วแดง. (2546) โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ:บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช จำกัด.เลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงาน. (2549). รายงานการติดตามประเมินผลการปฏิรูปการศึกษา
ด้านการบริหารและการจัดการศึกษา เมื่อสิ้นสุดปีงบประมาณ 2548. กรุงเทพฯ:
บริษัท พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2543). การบริหารโรงเรียนแบบกระจายอำนาจ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์
ทิพย์วิสุทธิ์.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา นโยบายและยุทธศาสตร์เพื่อการบรรลุผล.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.
____________. (2548). โรงเรียน การบริหารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์ทิพย์วิสุทธิ์.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). คู่มือการปฏิบัติงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา.
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
____________. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม.
กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์(ร.ส.พ.).
อุทัย บุญประเสริฐ. (2540). หลักสูตรและการบริหารงานวิชาการโรงเรียน. กรุงเทพฯ :
เอส.ดี.เพรส.
____________. (2546) การบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน (School-Base
Management). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Hambleton, R. K., and others.(1978) Criterion-Referenced Testing and
Measurement; A review of Technical Issues and Developments.
Review of Education Research 48.
Hoy, W.K. & Miskel C.G., (2001). Educational administration 6th edition.
New York: McGraw – Hills Companies, Inc.

แผนนิเทศภายในโรงเรียน

แผนนิเทศภายในโรงเรียน




โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย

จัดทำโดย
นายฤทธิ์อนันต์ พลซา




เขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ


คำนำ
แผนการนิเทศภายในโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกฉบับนี้ ได้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นการสนองนโยบายด้านการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาครูที่มีส่วนสำคัญในการจัดการศึกษาให้นักเรียน เพื่อเกิดประสิทธิภาพสูงสุดกับผู้เรียน
ซึ่งการจัดนิเทศภายในเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาการจัดการศึกษาของโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก ในการพัฒนาครูสายผู้สอนให้เป็นบุคลที่มีศักยภาพในการจัดการศึกษาให้กับนักเรียน
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกหวังเป็นอย่างยิ่งว่าแผนการนิเทศของโรงเรียน จะเป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนของโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก อันส่งผลให้ครูและนักเรียนได้รับการจัดการเรียนการสอนที่ดีต่อไป







นายฤทธิ์อนันต์ พลซา















ข้อมูลทั่วไปโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก ได้ก่อตั้งและเปิดทำการสอนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2525 ตั้งอยู่หมู่ที่ 6 ตำบลนาดอกคำ อำเภอนาด้วง จังหวัดเลย เป็นโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อสนองนโยบายพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดย พลเอกอาทิตย์ กำลังเอก ผู้บัญชาการทหารบก และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) เป็นผู้รับสนองพระราชดำริ และได้มอบให้ พตท. 21 (กรมพลเรือน ตำรวจ ทหาร ที่ 21 จังหวัดเลย ) กำหนดพื้นที่บริเวณ ห้วยปลาดุก พื้นที่ บี เป็นพื้นที่พัฒนาเพื่อความมั่นคงของชาติ และได้จัดสรร พื้นที่เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ ให้ประชาชนที่ยากจนจากทุกอำเภอในจังหวัดเลย จำนวน 200 ครอบครัว ซึ่งประชาชนดังกล่าว ได้นำบุตรธิดาที่อยู่ในวัยเรียน อพยพติดตามมาด้วย
สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย ได้สนองนโยบาย โดยการจัดตั้งโรงเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรร จำนวน 29 ไร่ 3 งาน ชื่อว่า “โรงเรียนบ้านนาดอกคำ สาขาห้วยปลาดุก “ เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาที่ 1 - 6 เปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2525
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2526 สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดเลย ได้ประกาศยกฐานะให้โรงเรียนเป็นเอกเทศ ชื่อว่า”โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก” สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอนาด้วง
ปัจจุบันเปิดทำการเรียนการสอน 3 ระดับ คือ ระดับปฐมวัย,ระดับประถมศึกษา,ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2551 มีห้องเรียน จำนวน 11 ห้องเรียน จำนวนนักเรียนแบ่งเป็น ชาย 114 คน หญิง 89 คน รวม 203 คน บุคลากรครู จำนวน 15 คน มี นายฉัตรชัย บุตรเวทย์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน
ปรัชญาโรงเรียน : ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต :ปัญญา เป็นแสงสว่างในโลก
สีประจำโรงเรียน : แสด - ดำ
คติประจำโรงเรียน : เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำประชาธิปไตย
สัญลักษณ์โรงเรียน : ภูแผงม้า อ่างเก็บน้ำสวยห้วยปลาดุก

วิสัยทัศน์ (VISON)
"โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกภายในปี 2555 นักเรียนทุกคนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษามีคุณลักษณะพึงประสงค์ คงไว้ซึ่งความเป็นไทย ใฝ่คุณธรรม น้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง ชุมชนร่วมสร้างสรรค์ จัดการสภาพแวดล้อมที่ดี เทคโนโลยีทันสมัย"
พันธกิจ (Mission )
1. จัดการศึกษาโดยใช้ระบบการประกันคุณภาพภายใน
2. จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและผู้เรียนโดยชุมชน มีส่วนร่วม

3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ด้านการใช้ห้องปฏิบัติการและการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ โดยใช้เทคโน
โลยีที่ทันสมัย
4. ผลิตและจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และสื่อเทคโนโลยีให้เพียงพอสำหรับการเรียนการสอน
5. จัดการเรียนการสอนโดยใช้วิธีสอน สื่อการสอนที่หลากหลาย เน้นการปฏิบัติจริง และมีการวัดผล
ประเมินผลสอดคล้องกับสภาพจริง
6. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนและส่งเสริมการแสวงหาความ
รู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ โดยสอดแทรกจริยธรรมคุณลักษณะที่ดีทั้งร่างกายและ จิตใจ
7. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้สะอาด ร่มรื่น มีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
เป้าประสงค์ (Goals)
1. นักเรียนทุกคนได้เรียนรู้ตามความถนัดและความต้องการ มีความรู้ความสามารถเต็มตามศักยภาพ
2. นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการดูแลรักษาสุขภาพอนามัย มีคุณธรรม จริยธรรม เห็นคุณค่าและอนุรักษ์
ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
3. นักเรียนทุกคนมีความรักและภาคภูมิใจในความเป็นไทย ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีทาง ศาสนา
และภูมิแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ2552 ปัญญาท้องถิ่น ควบคู่กับความสามารถ
ในการใช้สื่อเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4. ครูทุกคนพัฒนาตนเองสู่ความเป็นครูมืออาชีพ สนใจใฝ่หาความรู้และสามารถปฏิบัติงานในหน้าที่
รับผิดชอบอย่างสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
5. โรงเรียนมีหลักสูตร รูปแบบการบริหารหลักสูตร และกระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่
สอดคล้องกับหลักสูตรแม่บท และความต้องการของท้องถิ่น
6. โรงเรียนมีอาคารเรียน อาคารประกอบ สนามกีฬา และอุปกรณ์การเรียนอย่างเพียงพอมี
สภาพแวดล้อม ในโรงเรียนสะอาด ร่มรื่น สวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน
7. โรงเรียนสามารถปฏิบัติงานตามแนวทางการประกันคุณภาพภายใน

หลักการ
หลักการในการจัดหลักสูตรขั้นพื้นฐานโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก ได้กำหนดหลักการตามแนวนโยบายการจัดการศึกษา ของประเทศเพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพดังนี้
1. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาและเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยเฉพาะความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข
3. ให้มีโครงสร้างเหมาะสมในการจัดสาระการเรียนรู้ กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
นโยบายโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
1. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศร่มรื่นสวยงามเป็นอุทยานการศึกษา และส่งเสริม
สุขภาพอนามัยในโรงเรียน ปลุกจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. พัฒนาบุคลากรให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้มีเอกสาร
สื่อ วัสดุอุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
และเทคโนโลยีนำไปสู่การปฏิบัติ ประดิษฐ์คิดค้นที่เหมาะสมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันภูมิ
ปัญญา และเทคโนโลยีท้องถิ่น
4. สนับสนุนนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง ได้มี
โอกาสเรียนต่อตามศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน
5. ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ตลอดจนส่งเสริม
พัฒนาศิลปะ วัฒนธรรมความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองชุมชน
องค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา
6. ส่งเสริมสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ตลอดจนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย
สุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากโรคเอดส์และสิ่งเสพติดให้โทษ

กลยุทธ์และจุดเน้นการจัดการศึกษาโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก

กลยุทธ์ที่ 1 สร้างความเสมอภาคในโอกาสการเข้าถึงบริการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
จุดเน้น
1.1 ส่งเสริมการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย การศึกษาภาคบังคับ ให้ครอบคลุมประชากรวัยเรียนทุกกลุ่มเป้าหมายอย่างทั่วถึง
1.2 ประสานและร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กร สถาบันและบุคคลที่เกี่ยวข้องในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
วัตถุประสงค์
1. ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาระดับปฐมวัย และการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กร สถาบันและบุคคลที่เกี่ยวข้อง.ให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. สามารถจัดการศึกษาปฐมวัย และภาคบังคับในรูปแบบที่เหมาะสม
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาและจบการศึกษาภาคบังคับ
2. ร้อยละของประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาและจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กลยุทธ์ที่ 2 ส่งเสริมการปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้
จุดเน้น
1. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ชุมชนและท้องถิ่น
3. ส่งเสริมการพัฒนานักเรียน ด้านคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการสอนวิชาชีพในโรงเรียน
วัตถุประสงค์
1. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาและเรียนรู้อย่างมีความสุข
2. โรงเรียนมีหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่นและผู้เรียน
3. นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีสุขภาพอนามัยสมบูรณ์
4. โรงเรียนจัดสอนวิชาชีพในโรงเรียน โดยใช้วิทยากรจากชุมชน
ตัวชี้วัด
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนสูงขึ้น
2. โรงเรียนที่มีหลักสูตรใช้ในสถานศึกษาครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
3. นักเรียนมีน้ำหนักส่วนสูงเป็นตามเกณฑ์มาตรฐานและมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่
หลักสูตรกำหนด
4. โรงเรียนมีผลผลิตหนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์
5. โรงเรียนจัดการเรียนการสอนวิชาชีพได้อย่างเหมาะสม
กลยุทธ์ที่ 3 ระดมทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา
จุดเน้น
1. ส่งเสริมการสร้างและนำสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา
2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการจัดหา ผลิต บำรุงรักษา วัสดุ ครุภัณฑ์ สื่อและอุปกรณ์ให้มี ประสิทธิภาพอยู่เสมอ
3. ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดหาและการบริหารงบประมาณ
4. พัฒนา การใช้สื่อ วัสดุ อุปกรณ์ ในท้องถิ่นเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เหมาะสม
5. ส่งเสริมการนำทรัพยากร ภูมิปัญญาท้องถิ่น แหล่งการเรียนรู้ในชุมชนมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน



วัตถุประสงค์
1. บุคลากรสามารถใช้สื่อและนวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. หน่วยงานมีระบบการใช้สื่อและบำรุงรักษาที่มีประสิทธิภาพ
3. ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานและเอกชนให้การสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาสื่ออย่างเพียงพอ
4.สถานศึกษามีสื่อและแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย
5. นักเรียนได้เรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
6. ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนและใช้โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการ
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของบุคลากรใช้สื่อและนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้
2. หน่วยงานมีระบบการใช้และการบำรุงรักษาสื่อและอุปกรณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. จำนวนงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจาก ชุมชนและองค์กรอื่น
4. จำนวนสื่อและแหล่งเรียนรู้
5. สถิติการใช้แหล่งเรียนรู้
กลยุทธ์ที่ 4 ส่งเสริมการพัฒนาครู ผู้บริหารและบุคลากรในด้านต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
จุดเน้น
1. ส่งเสริมสนับสนุนและยกย่องครู ผู้บริหารและบุคลากรเพื่อพัฒนาเป็นแกนนำ ต้นแบบและ
พัฒนา ระบบเครือข่ายการดำเนินงาน
2. ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาครูด้านความรู้และทักษะในการจัดการเรียนการสอน
3. ส่งเสริมและพัฒนาผู้บริหารและบุคลากรทางการศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
4. ส่งเสริมและสนับสนุนการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้
วัตถุประสงค์
1.ครูได้รับการพัฒนาเป็นครูมืออาชีพ
2.ผู้บริหารได้รับการพัฒนาเป็นผู้บริหารมืออาชีพ
3.มีบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
4.มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย
5.ครู ผู้บริหารและบุคลากรได้รับสวัสดิการอย่างเหมาะสม
ตัวชี้วัด
1. การผ่านเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งของครู
2. การผ่านเกณฑ์มาตรฐานตำแหน่งของผู้บริหาร
3. จำนวนบุคลากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
4. จำนวนของรูปแบบและวิธีจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
5. จำนวนครูที่ได้รับการพัฒนาโดยการนิเทศติดตาม ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
6. จำนวนครู ผู้บริหารและบุคลากรครูที่ได้รับรางวัลยกย่องเป็นครูต้นแบบ และการพัฒนา วิทยฐานะ
กลยุทธ์ที่ 5 ส่งเสริมและพัฒนาระบบบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
จุดเน้น
1. ปรับปรุง พัฒนาสภาพแวดล้อมและบรรยากาศภายในโรงเรียนให้เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
2.ส่งเสริม พัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ
3.ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา
4.ปรับปรุงการบริหารโรงเรียนให้มีระบบการทำงานที่ชัดเจน ได้มาตรฐานและมีคู่มือการปฏิบัติ
งาน อย่างเหมาะสม
5. ส่งเสริมสนับสนุนการจัดอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม) และให้การช่วยเหลือนักเรียน
ยากจนและการป้องกันสารเสพติด
6. ส่งเสริมสนับสนุนการบริการแนะแนว ลูกเสือเนตนารี กีฬา นันทนาการ กิจกรรมสหกรณ์
ประชาธิปไตยและส่งเสริมประเพณีวัฒนธรรมในท้องถิ่น
7. ส่งเสริมการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานแก่เด็กทั่วไป เด็กกลุ่มพิเศษ เด็กด้อยโอกาส เด็กพิการ
อย่างทั่วถึงและเสมอภาค
วัตถุประสงค์
1โรงเรียนมีสภาพแวดล้อมและบรรยากาศในโรงเรียนที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
2.โรงเรียนมีแหล่งการเรียนรู้ที่หลากหลาย
3. ครูจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์
5. ชุมชน องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการวางแผนการบริหารการจัดการศึกษา
6.โรงเรียนมีระบบการบริหารงานที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ
7.บุคลากรทำงานตรงตามความถนัดและความสามารถ
8.นักเรียนได้รับการสนับสนุนอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นม)
9.นักเรียนมีทักษะในการป้องกันตนเองจากยาเสพติด
10.นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรม ปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับของลูกเสือ
11.นักเรียนมีพฤติกรรมด้านประชาธิปไตย และเข้าใจในหลักการของสหกรณ์
12.นักเรียนมีความตระหนักและร่วมกันอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม
13.นักเรียนรักการออกกำลังกาย ,กิจกรรมนันทนาการ และดนตรี
14.นักเรียนแต่ละกลุ่มได้รับความสนับสนุนช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเสมอภาค
ตัวชี้วัด
1. โรงเรียนที่จัดสภาพแวดล้อมและมีแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการเรียนรู้
2. จำนวนครั้งที่ สถานศึกษาได้รับการนิเทศ กำกับ ติดตาม
3. จำนวนนักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ทุกด้าน
4. จำนวนชุมชนให้ความร่วมมือในการบริหารจัดการศึกษา
5. ผลงานที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน
6. จำนวนบุคลากรมีความพึงพอใจในระบบการบริหารจัดการศึกษา
7. จำนวนผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการรับบริการด้านการศึกษา
8. จำนวนนักเรียนมีส่วนสูงและน้ำหนักได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

กลยุทธ์ที่ 6 ส่งเสริมและพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษา
จุดเน้น
1. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
2. ส่งเสริมความพร้อมรับการประเมินภายนอก
วัตถุประสงค์
1. โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศการศึกษาที่ครบถ้วน ถูกต้องและทันสมัย
2. โรงเรียนมีการพัฒนามาตรฐานการศึกษาโดยร่วมมือกับชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. โรงเรียนดำเนินการตรวจสอบระบบประกันคุณภาพภายใน
4. โรงเรียนพร้อมรับการประเมินคุณภาพภายนอก
5. โรงเรียนมีมาตรฐานคุณภาพการศึกษา
ตัวชี้วัด
1. โรงเรียนมีระบบข้อมูลสารสนเทศทางการศึกษา
2. โรงเรียนมีระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่มีประสิทธิภาพ
3. โรงเรียนมีการประเมินตนเองทุกปี
4. โรงเรียนรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี
5. โรงเรียนนำผลการประเมินไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาจัดการศึกษาให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น
6. โรงเรียนได้รับการประเมินคุณภาพภายนอกอย่างน้อย 1 ครั้งต่อ 5 ปี
7. โรงเรียนมีการรายงานผลคุณภาพการศึกษาต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

กลยุทธ์ที่ 7 ก ารพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
จุดเน้น
1.เร่งรัดการประกันโอกาสและสร้างความเสมอภาคทางการศึกษา
2.ปรับปรุงพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ประชากรวัยเรียนได้รับการศึกษาระดับปฐมวัย และการศึกษาภาคบังคับอย่างทั่วถึง
2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน องค์กร สถาบันและบุคคลที่เกี่ยวข้อง.ให้การ
สนับสนุนการจัดการศึกษา
3. ผู้เรียนได้รับการดูแลช่วยเหลือในด้านการเรียน ความประพฤติ ปัจจัยพื้นฐาน สามารถเรียนจนจบหลักสูตรการศึกษาภาคบังคับของโรงเรียนได้
ตัวชี้วัด
1. ร้อยละของนักเรียนที่ได้รับการดูแลช่วยเหลือและจบการศึกษาภาคบังคับ

เป้าหมายและผลผลิตหลัก /ตัวชี้วัดความสำเร็จ

ผลผลิต ปีงบประมาณ 2552 / ที่ขอตั้ง
ปริมาณ เงิน เฉลี่ย /หน่วย
ผลผลิตหลักที่ 1
นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง
206
543,297.60 2,637.37

ผลผลิตหลักที่ 2
นักเรียนได้ยกระดับคุณภาพ ตามศักยภาพ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติ 206 603,664.00


2,930.41

ผลผลิตหลักที่ 3
นักเรียนได้รับการส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการในสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ งานอาชีพ และเทคโนโลยี
120 362,198.40
3,018.32





ตัวชี้วัดผลสำเร็จ
ผลผลิตหลักที่ 1
นักเรียนได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างทั่วถึง - จำนวนนักเรียนทั้งหมด 206 คน
ผลผลิตหลักที่ 2
นักเรียนได้ยกระดับคุณภาพ ตามศักยภาพ เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติ - ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาของชาติ 80 %
ผลผลิตหลักที่ 3
นักเรียนได้รับกาส่งเสริมให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการในสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย
ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ งานอาชีพ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี -ร้อยละของจำนวนนักเรียนที่ได้รับกาส่งเสริม
ให้ได้รับความเป็นเลิศทางวิชาการ สาระการเรียนรู้ ภาษอังกฤษ คณิตศาสตร์ งานอาชีพ
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


กำหนดการปิด – ปิดภาคเรียน ปีงบประมาณ 2552
เปิดภาคเรียนที่ 2 / 2551 วันที่ 1 พฤศจิกายน 2551
ปิดภาคเรียนที่ 2/2551 วันที่ 31 มีนาคม 2552
เปิดภาคเรียนที่ 1 /2552 วันที่ 16 พฤษภาคม 2552
ปิดภาคเรียนที่ 1 /2552 วันที่ 10 ตุลาคม 2552










การบริหารจัดการในโรงเรียน
จำนวนครู-บุคลากรทางการศึกษา ปี 2552 จำนวนนักเรียน ปี 2552

ตำแหน่ง จำนวน ระดับช่วงชั้น ชาย หญิง รวม
ชาย หญิง รวม อนุบาล 1 9 5 14
ผู้อำนวยการ 1 - 1 อนุบาล 2 8 5 13
รองผู้อำนวยการ - - - ช่วงชั้นที่ 1 32 29 61
ครู 6 5 11 ช่วงชั้นที่ 2 31 24 55
ครูผู้ช่วย - - - ช่วงชั้นที่ 3 33 26 59
พนักงานราชการ 2 1 3 รวม 113 89 202
ลูกจ้างประจำ - - -
ลูกจ้างชั่วคราว 1 - 1
รวม 10 6 16







ลำดับที่ ชื่อ - สกุล ตำแหน่ง หน้าที่ วิชาเอก
1 นายฉัตรชัย บุตรเวทย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน บริหารการศึกษา
2 นายตระกูล มาแสนจันทร์ ครูชำนาญการ ภาษาไทย
3 นางยุพาพร ทะวงศ์ ครูชำนาญการพิเศษ วิชาการ สุขศึกษา
นายอรุโนทัย นาคสุนทร ครูชำนาญการ อาคารสถานที่ อุตสาหกรรมศิลป์
4 นายสังหาร ระนาท ครูชำนาญการ
5 นายบัวทอง คลังกลาง ครูชำนาญการ การเงิน ภาษาอังกฤษ
6 นายสริยนต์ ภักมี ครูชำนาญการ บริหารทั่วไป เกษตรกรรม
7 นางนันทะนา สีหะพงษ์ ครู วิชาการ วิทยาศาสตร์
8 นางวิไลวรรณ มาแสนจันทร์ ครู วิชาการ ภาษาไทย
นายอาทิตย์ ลีตน ครู อาคารสถานที่ คอมพิวเตอร์
9 นายฤทธิ์อนันต์ พลซา ครูผู้ช่วย พัสดุ คอมพิวเตอร์
10 นางสันทนา คุณนา ครูผู้ช่วย บุคลากร ภาษาอังกฤษ
11 นางสุกัญญา ดีอุดมจันทนร์ ครูผู้ช่วย วิชาการ คณติศาสตร์
นางสาวปรางค์วิมล เสนาอาจ ครูผู้ช่วย บุคลากร คอมพิวเตอร์
13 นายบริพัตร สุนทรสารทูล พนักงานราชการ วิชาการ ปฐมวัย
12 นางสาวศิริพร กั๊กสูงเนิน พนักงานราชการ อนามัยโรงเรียน วิทยาศาสตร์
15 นายจำลอง ลีตน ลูกจ้างชั่วคราว(นักการ) -





โครงสร้างสายงานบริหารโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผู้อำนวยการ ชมรมศิษย์เก่า



การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคล การบริหารทั่วไป
1.การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา 1. การจัดทำและเสนอของบประมาณ 1. การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง 1. การดำเนินงานธุรการ
2.การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 2 .การจัดสรรงบประมาณ 2.การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง 2.งานเลขานุการคณะกรรมการ
สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3.การวัดผล ประเมินผลและ 3.การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล 3. การเสริมสร้างประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ 3.งานพัฒนาระบบและเครือข่ายของข้อมูลสารสนเทศ
เทียบโอนผลการเรียน และรายงานผลการใช้เงินและ 4.วินัยและการรักษาวินัย 4. การประสานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
4.การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ ผลการดำเนินงาน 5.การออกจากราชการ 5. การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์
การศึกษา 4.การระดมทรัพยากรและ 6.การนิเทศการศึกษา 6. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและ การลงทุนเพื่อการศึกษา 7. การส่งเสริม สนับสนุนด้านวิชาการงบประมาณ บุคลากรและ เทคโนโลยีทางการศึกษา 5.การบริหารการเงิน บริหารทั่วไป
6.การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ 6.การบริหารบัญชี 8. การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อ
7.งานส่งเสริมงานกิจการนักเรียน 7.การบริหารพัสดุและสินทรัพย์ 9. การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
8.การแนะแนวทางการศึกษา 10. การรับนักเรียน
9.การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภาย 11. การส่งเสริมและประสานงานการศึกษาในระบบ นอกระบบ
ในสถานศึกษา และตามอัธยาศัย
10.การส่งเสริมความรู้ ด้านวิชาการแก่ชุมชน 12. การระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
11.การประสานความร่วมมือในการ พัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น 13. การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
12.การส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว 14. การส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการศึกษาของบุคคลใน องค์กร
และสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา 15. งานประสานราชการกับเขต พื้นที่และหน่วยงานอื่น 16. การจัดระบบการควบคุมในหน่วยงาน
17. งานบริการสาธารณะ
18. งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น


แผนผังโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
































จุดเน้นที่ต้องการปรับปรุงและพัฒนา
เนื่องจากโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกเป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีราษฎรมีฐานะยากจนเป็นส่วนใหญ่ ส่งผลถึงโอกาสการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้นของนักเรียนนอกเหนือไปจากที่โรงเรียนดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน มีจำนวนน้อย ครึ่งหนึ่งของนักเรียนที่จบการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ต้องช่วยครอบครัวทำงาน ส่วนหนึ่งประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม และส่วนหนึ่งรับจ้างขายแรงงานในต่างจังหวัดตามย่านอุตสาหกรรม และในกรุงเทพ ฯ เพื่อช่วยให้นักเรียนทุกคนได้รับความรู้ ประสบการณ์เต็มตามศักยภาพอย่างสมบูรณ์ เข้มข้น คงทนถาวรจึงได้กำหนดจุดเน้นที่ต้องพัฒนาเป็นการเร่งด่วน ดังต่อไปนี้
1) พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2) การสร้างสภาพแวดล้อมแหล่งเรียนรู้แบบบูรณาการ
3) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาและหลักสูตรท้องถิ่น
4) พัฒนาศักยภาพครู และบุคลากรในโรงเรียน
5) พัฒนาส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมครู และนักเรียน
6) พัฒนาโรงเรียนให้เป็นศูนย์การเรียนรู้สู่คุณภาพการศึกษาประชาชน
7) การส่งเสริมความเป็นเลิศและพัฒนาอัจฉริยภาพนักเรียน (วัดแวว)
8) พัฒนาการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
9) จัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเติมให้เหมาะสมกับจำนวนนักเรียน
10) การส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน
11) พัฒนาคุณภาพชีวิตหนึ่งโรงเรียน หนึ่งผลิตภัณฑ์สู่ผู้เรียนและชุมชน
12) พัฒนาโครงการดูแลช่วยเหลือนักเรียน
13) พัฒนาห้องสมุดโรงเรียนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตของประชาชน
14) ส่งเสริมโครงการปลูกกุหลาบเพื่อการศึกษาพัฒนาสู่อาชีพในอนาคต
15) พัฒนาระบบเฝ้าระวังป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา
16) พัฒนาการจัดกิจกรรมลูกเสือ และเนตรนารี
17) ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรม ดนตรี กีฬาและศิลปะ



นโยบายโรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก
1. จัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้มีบรรยากาศร่มรื่นสวยงามเป็นอุทยานการศึกษา และส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน ปลุกจิตสำนึกในการรักความสะอาดเป็นระเบียบ และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2. พัฒนาบุคลากรให้มีการปฏิรูปการเรียนการสอนโดยเน้นนักเรียนเป็นสำคัญ ส่งเสริมให้มีเอกสาร สื่อ วัสดุอุปกรณ์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการเรียนรู้
3. สนับสนุนและส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำไปสู่การปฏิบัติ ประดิษฐ์คิดค้นที่เหมาะสมสอดคล้องกับชีวิตประจำวันภูมิปัญญา และเทคโนโลยีท้องถิ่น
4. สนับสนุนนักเรียนที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่บริการตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียง ได้มีโอกาสเรียนต่อตามศักยภาพและความสามารถของผู้เรียน
5. ส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมอันพึงประสงค์ ตลอดจนส่งเสริมพัฒนาศิลปะ วัฒนธรรมความสัมพันธ์ และความร่วมมือระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครองชุมชนองค์กรภาครัฐและเอกชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา
6. ส่งเสริมสุนทรียภาพและลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา ตลอดจนมีสุขนิสัย สุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี ปลอดจากโรคเอดส์และสิ่งเสพติดให้โทษ
7. พัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่มีปัญหาการเรียน ปัญหาครอบครัว ปัญหาความประพฤติ ตลอดจนปัญหาอื่นที่เกี่ยวข้องกับนักเรียน เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนเห็นคุณค่าของตนเอง และอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข

เป้าหมายตามนโยบายของโรงเรียน


เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 1
1. นักเรียนเข้าศึกษาต่อชั้น ป.1 ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 100 ของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการและนักเรียนเรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนต่อชั้นที่สูงขึ้นได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของนักเรียนในเขตพื้นที่บริการ
2. มีทุนการศึกษาเพิ่มขึ้นจากปีการศึกษา 2550
3. ออกเยี่ยมบ้านผู้ปกครองนักเรียนทั้ง 3 หมู่บ้าน
เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 2
1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นมีความรับผิดชอบและพึ่งตนเองได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75
2. นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมที่ดี อยู่ในระเบียบวินัย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3. นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมทางการศาสนาและวัฒนธรรมประเพณีไทยไม่น้อยกว่า 3 ครั้ง / ปี
4. นำนักเรียนไปทัศนศึกษา ดูงานนอกสถานที่อย่างน้อย ปีละ 1 ครั้ง
เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 3
1. มีการประกวดความสามารถด้านศิลปะ ดนตรี กีฬา หรือกิจกรรมที่นักเรียนจะได้ทำการแสดงออกอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2. มีการแข่งขันกีฬาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
3. มีการจัดตั้งวงดนตรีพื้นเมืองจำนวน 1 วง
4. จัดส่งนักเรียนเข้าร่วมการแสดงหรือแข่งขันทางด้านดนตรี และศิลปะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
5. ส่งนักกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระดับกลุ่มคุณภาพการศึกษา ระดับอำเภอ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตามความสามารถ
เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 4
1. มีป้ายนิเทศเผยแพร่สุขภาพอนามัยอย่างต่อเนื่อง
2. มีวิทยากรมาบรรยายโรคเอดส์ โรคติดต่อร้ายแรงและสิ่งเสพติดสารระเหยปีละ 1 ครั้ง
3. นักเรียนมีสุขภาพที่ดีร้อยละ 100

เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 5
1. นักเรียนสามารถประกอบอาชีพอิสระและมีรายได้ระหว่างเรียนร้อยละ 50
2. มีวิทยากรมาบรรยายเกี่ยวกับการงานอาชีพปีละ 1 ครั้ง
3. มีแปลงผักสวนครัวอย่างน้อย 5 แปลง



เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 6
1. มีสวนหย่อมหน้าอาคารเรียนทุกอาคารเรียน ๆละไม่น้อยกว่า 1 แห่ง
2. ปลูกต้นไม้ยืนต้น จำนวน 100 ต้น
3. นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินผลการเรียนร้อยละ 95
4. นักเรียนมีสุขภาพจิตที่ดี ร้อยละ 100
เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 7
1. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนา อบรม ดูงาน อย่างน้อยปีละ 5 ครั้ง/คน
2. มีการนิเทศติดตามประเมินผลอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3. ครูและบุคลากรทางการศึกษาไปศึกษาดูงานปีละ 1 ครั้ง
4. มีเครื่องคอมพิวเตอร์อย่างน้อย 10 เครื่อง


เป้าหมายตามนโยบายข้อที่ 8
1. จัดนิทรรศการทางวิชาการร่วมกับหน่วยงานอื่น ปีละ 1 ครั้ง
2. จัดงานประเพณีร่วมกับชุมชนอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
3. ส่งครูและบุคลากรทางการศึกษา ร่วมกับชุมชนในการจัดการแข่งขันกีฬาตามโอกาสเหมาะสม
4. ให้บริการด้านอาคารสถานที่และวัสดุอุปกรณ์ตามโอกาส
5. ให้บริการด้านเครื่องเสียงและวงดนตรีพื้นเมืองของโรงเรียนตามโอกาส



เป้าหมาย ปีการศึกษา 2552
มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 1
1. จัดหาทุนการศึกษา
2. จัดหารายได้ระหว่างเรียน
3. จัดแนะแนวการศึกษา
4. ประชาสัมพันธ์โรงเรียน
5. จัดหาสวัสดิการต่าง ๆ ให้นักเรียน

มาตรการตานโยบายของโรงเรียนข้อที่ 2
1. จัดทำคู่มือนักเรียน
2. ให้นักเรียนเลือกตั้งประธานนักเรียนและกรรมการนักเรียน
3. นิมนต์พระมาแสดงเทศนาในเรื่องคุณธรรมแก่นักเรียน
4. เชิญตำรวจจราจรมาบรรยายเรื่องกฎจราจร
5. จัดให้มีการประกวดความสะอาดของห้องเรียน
6. ให้รางวัลและประกวดยกย่องแก่นักเรียนที่มีความประพฤติเรียบร้อยและมีจรรยามารยาทดี
7. จัดให้มีการจัดและประกวดป้ายนิเทศวันสำคัญทางศาสนาและประเพณี
มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 3
1. จัดให้มีการประกวดวาดภาพของนักเรียนในวันสำคัญต่าง ๆ
2. จัดนิทรรศการศิลปะ
3. คัดเลือกนักเรียนที่มีความสามารถด้านดนตรีเข้าร่วมวงดนตรีพื้นเมืองโรงเรียน
4. จัดส่งนักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬาเข้าร่วมแข่งขันกีฬาระดับกลุ่มคุณภาพการศึกษา ระดับอำเภอ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา




มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 4
1. จัดบริการอาหารกลางวัน
2. แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมน้ำดื่มและร้ายขายอาหารในโรงเรียน
3. เชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่องโรคเอดส์และโรคติดต่อร้ายแรงและสิ่งเสพติดสารระเหย
4. จัดให้มีการอบรมเยาวชน อย. น้อย
5. จัดบริการตรวจสุขภาพและให้ภูมิคุ้มกัน
6. จัดให้มีการออกกำลังกายแก่ครูและนักเรียน
7. จัดป้ายนิเทศเผยแพร่ความรู้เรื่องโภชนาการ โรคติดต่อ

มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 5
1. จัดให้มีการเรียนการสอนวิชาชีพท้องถิ่น
2. สนับสนุนให้นักเรียนทำงานกันเป็นกลุ่ม
3. ส่งเสริมให้นักเรียนนำสินค้ามาจำหน่ายที่สหกรณ์โรงเรียน
4. จัดจำหน่ายสินค้าจากฝีมือนักเรียนจากงานหัตถกรรมฝีมือ

มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 6
1. สร้างสวนหย่อมและปลูกต้นไม้บริเวณโรงเรียน
2. จัดให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกาสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน
3. จัดอาคารเรียนสถานที่ให้ร่มรื่นสวยงาม
4. จัดซ่อมแซมอาคารสถานที่ที่ชำรุดให้ใช้งานได้ปกติ
5. จัดให้มีป้ายนิเทศความรู้ติดตามต้นไม้




มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 7
1. จัดส่งครูเข้าร่วมอบรมตามความเหมาะสม
2. จัดให้มีการดูงานจากโรงเรียนที่มีความเหมาะสม
3. จัดให้มีการนิเทศทุกกลุ่มสาระ
4. ตั้งคณะกรรมการประเมินผลโครงการ / งานที่ดำเนินการแล้วเสร็จ
5. จัดหาเครื่องฉายโปรเจคเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
6. จัดหาสื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยกับเทคโนโลยีตามที่กลุ่มสาระ/ ฝ่ายงานเสนอขอ

มาตรการตามนโยบายของโรงเรียนข้อที่ 8
1. จัดกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ต่อชุมชน
2. ร่วมกับชุมชนในการจัดกิจกรรมด้านศาสนาและประเพณี
3. จัดให้มีการบริการด้านวิชาการแก่หน่วยงานอื่น
4. ให้บริการด้านอุปกรณ์กีฬา อาคารสถานที่ วัสดุครุภัณฑ์แก่ชุมชน
5. ส่งนักกีฬาและครู-บุคลากรทางการศึกษาร่วมตัดสินกีฬากับชุมชน




การบริหารวิชาการ

แนวคิด
งานวิชาการเป็นงานหลัก หรือเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็วสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน สถานศึกษา ชุมชน ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารและการจัดการสามารถ พัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดผล ประเมินผล รวมทั้งการวัดปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่น ได้อย่างมีคุณภาพและมีประสิทธิภาพ

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านวิชาการได้โดยอิสระ คล่องตัว รวดเร็ว และสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน สถานศึกษา ชุมชน และท้องถิ่น
2. เพื่อให้การบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษาได้มาตรฐานและมีคุณภาพ สอดคล้องกับระบบประกันคุณภาพการศึกษาและการประเมินคุณภาพภายในเพื่อพัฒนาตนเอง และการประเมินจากหน่วยงานภายนอก
3. เพื่อให้สถานศึกษาพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ ตลอดจนจัดปัจจัยเกื้อหนุนการพัฒนาการเรียนรู้ที่สนองตามความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และท้องถิ่น โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญได้อย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
4. เพื่อให้สถานศึกษาได้ประสานความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาและของบุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบัน อื่น ๆ อย่างกว้างขวาง

ขอบข่าย/ภารกิจ
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
2. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้
3. การวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการเรียน
4. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
5. การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
6. การพัฒนาแหล่งเรียนรู้
7. การนิเทศการศึกษา
8. การแนะแนวการศึกษา
9. การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
10. การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
11. การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น
12. การส่งเสริมและสนับสนุนวิชาการแก่บุคคล ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันอื่นที่จัดการศึกษา


การบริหารงบประมาณ

แนวคิด
การบริหารงานงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการมีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน ให้มีการจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินของสถานศึกษา รวมทั้งจัดหารายได้จากบริการมาใช้บริหารจัดการเพื่อประโยชน์ทางการศึกษา ส่งผลให้เกิดคุณภาพที่ดีขึ้นต่อผู้เรียน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สถานศึกษาบริหารงานด้านงบประมาณมีความเป็นอิสระ คล่องตัว โปร่งใสตรวจสอบได้
2. เพื่อให้ได้ผลผลิต ผลลัพธ์เป็นไปตามข้อตกลงการให้บริการ
3. เพื่อให้สถานศึกษาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรที่ได้อย่างเพียงพอ และมีประสิทธิภาพ

ขอบข่ายภารกิจ
1. การจัดทำและเสนอของบประมาณ
1.1 การวิเคราะห์และพัฒนานโยบายทางการศึกษา
1.2 การจัดแผนกลยุทธ์หรือแผนพัฒนาการศึกษา
1.3 การวิเคราะห์ความเหมาะสมการเสนอของบประมาณ
2. การจัดสรรงบประมาณ
2.1 การจัดสรรงบประมาณในสถานศึกษา
2.2 การเบิกจ่ายและการอนุมัติงบประมาณ
2.3 การโอนเงินงบประมาณ

3. การตรวจสอบ ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
3.1 การตรวจสอบติดตามการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
3.2 การประเมินผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน
4. การระดมทรัพยากร และการลงทุนเพื่อการศึกษา
4.1 การจัดการทรัพยากร
4.2 การระดมทรัพยากร
4.3 การจัดหารายได้และผลประโยชน์
4.4 กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา
4.5 กองทุนสวัสดิการเพื่อการศึกษา
5. การบริหารการเงิน
5.1 การเบิกเงินจากคลัง
5.2 การรับเงิน
5.3 การเก็บรักษาเงิน
5.4 การจ่ายเงิน
5.5 การนำส่งเงิน
5.6 การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี
6. การบริหารบัญชี
6.1 การจัดทำบัญชีการเงิน
6.2 การจัดทำรายงานทางการเงินและงบการเงิน
6.3 การจัดทำและจัดหาแบบพิมพ์บัญชี ทะเบียน และรายงาน


7. การบริหารพัสดุและสินทรัพย์
7.1 การจัดทำระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์ของสถานศึกษา
7.2 การจัดหาพัสดุ
7.3 การกำหนดแบบรูปรายการหรือคุณลักษณะเฉพาะและจัดซื้อจัดจ้าง
7.4 การควบคุมดูแล บำรุงรักษา และจำหน่ายพัสดุ


การบริหารงานบุคคล
แนวคิด
การบริหารงานบุคลในสถานศึกษา เป็นภารกิจสำคัญที่มุ่งส่งเสริมให้สถานศึกษาสามารถปฏิบัติงานเพื่อตอบสนองภารกิจของสถานศึกษา เพื่อดำเนินการด้านบริหารงานบุคคลให้เกิดความคล่องตัว อิสระภายใต้กฎหมาย ระเบียบ เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษาได้รับการพัฒนามีความรู้ความสามารถมีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติมีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ

จุดประสงค์
1. เพื่อให้การดำเนินงานด้านการบริหารงานบุคคลถูกต้อง รวดเร็วเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล
2. เพื่อส่งเสริมบุคคลากรให้มีความรู้ความสามารถและมีจิตสำนึกให้ปฏิบัติภารกิจที่รับผิดชอบให้เกิดผลสำเร็จตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
3. เพื่อส่งเสริมให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาปฏิบัติงานตามศักยภาพ โดยยึดมั่นในระเบียบวินัย จรรยาบรรณ อย่างมีมาตรฐานแห่งวิชาชีพ
4. เพื่อให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานได้ตามมาตรฐานวิชาชีพที่รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและความก้าวหน้าในวิชาชีพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของผู้เรียนเป็นสำคัญ

ขอบข่าย / ภารกิจ
1. การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่ง
2. การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง
3. การสร้างเสริมประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
4. มีวินัยและการรักษาวินัย
5. การลาออกจากราชการ



การบริหารทั่วไป
แนวคิด
การบริหารทั่วไปเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดระบบบริหารองค์กร ให้การบริหารงานอื่นๆ บรรลุผลตามาตรฐาน คุณภาพและเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยมีบทบาทหลักในการประสานส่งเสริมสนับสนุนและการอำนวยการ ความสะดวกต่างๆ ในการให้บริการการศึกษาทุกรูปแบบ มุ่งพัฒนาสถานศึกษาให้ใช้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม ส่งเสริมในการบริหารและการจัดการศึกษาของสถานศึกษา ตามหลักการบริหารงานที่มุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของงานเป็นหลักโดยเน้นความโปร่งใส ความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ ตลอดจนการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้การบริการ สนับสนุน ส่งเสริม ประสานงานและอำนวยการ ให้การปฏิบัติงานของสถานศึกษาเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
2. เพื่อประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร และผลงานของสถานศึกษาต่อสาธารณชนซึ่งจะก่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เจตคติที่ดี เลื่อมใส ศรัทธาและให้การสนับสนุนการจัดการศึกษา

ขอบข่ายและภารกิจ
1. การดำเนินงานธุรการ
2. งานเลขานุการคณะกรราการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
3. การพัฒนาระบบและเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
4. การประสานและพัฒนาเครือข่ายทางการศึกษา
5. การจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์กร
6. งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
7. การส่งเสริมสนับสนุนด้านวิชาการ งบประมาณ บุคลากรและบริหารทั่วไป
8. การดูแลสถานที่และสภาพแวดล้อม
9. การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
10. การรับนักเรียน
11. การส่งเสริมและประสานงานการจัดการศึกษาในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย
12. การะดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
13. การเสริมสร้างงานกิจการนักเรียน
14. การประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
15. การเสริมสร้างสนับสนุนและประสานงานการจัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กร หน่วยงาน และสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
16. งานประสานราชการกับเขตพื้นที่การศึกษาและหน่วยงานอื่น
17. การจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
18. งานบริการสาธารณะ
19. งานที่ไม่ได้ระบุไว้ในงานอื่น


การนิเทศภายใน

ความหมายและขอบข่าย
ความหมาย
เป็นการนิเทศแบบร่วมมือที่เกิดจากความร่วมมือของคณะครูในโรงเรียน ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนให้มีความก้าวหน้าทุก ๆ ด้าน
ขอบข่ายของงานนิเทศ
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกจัดกิจกรรมนิเทศภายใน จำนวน 28 กิจกรรม ดังนี้
1. ธุรการชั้นเรียนเป็นปัจจุบัน
2. บันทึกความดี
3. บันทึกการอ่าน / บันทึกการส่งเสริมพัฒนาการอนุบาล
4. บันทึกการออมทรัพย์
5. บันทึกการแปรงฟัน
6. บันทึกการดื่มนม
7. บันทึกการทำเวรประจำวัน
8. บันทึกการทำความสะอาดห้องส้วม
9. บันทึกการทำความสะอาดเขตบริการ
10. บันทึกการตรวจสุขภาพ
11. บันทึกการเยี่ยมบ้าน
12. บันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
13. การทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง
14. ข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และบันทึกการให้ความช่วยเหลือ
15. ข้อมูลนักเรียนยากจน และการรับทุน
16. แฟ้มเกียรติบัตรครู/ นักเรียน
17. แผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้น/ทุกกลุ่มสาระและมีบันทึกหลังสอน
18. มีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอ
19. ห้องเรียนสะอาด เอื้อต่อการเรียนรู้
20. มีป้ายนิเทศประจำห้องเรียนทันสมัยทันเหตุการณ์
21. ครูตรงต่อเวลาต่อการสอน
22. บันทึกรายรับ - รายจ่ายประจำวัน
23. นักเรียนตรงต่อเวลา มีสัมมาคารวะ
24. นักเรียนแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ถูกระเบียบ
25. มีที่วางไม้กวาด
26. ห้องเรียนมีมุมประสบการณ์และมุมหนังสือ
27. ครูอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและการสอน
28. บันทึกวินัยในชั้นเรียนของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้

หลักการนิเทศภายใน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักเรียนมีคุณภาพตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรนั้น พฤติกรรมการสอนของครูถือเป็นความสำคัญที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพได้ ความรู้ความสามารถ เทคนิคทักษะกระบวนการ ที่จะใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครูนั้น มีความแตกต่างกัน ครูบางคนมีความ สามารถในการจัดการเรียนการสอนได้ดีและสามารถช่วยเหลือปรับปรุงการสอนให้เพื่อนร่วมงานคนอื่น ๆ ได้ ครูบางคนยังไม่ปรับกระบวนทัศน์ในการทำงาน อีกทั้งไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะต้องได้รับการส่งเสริมช่วยเหลืออย่างจริงจังและต่อเนื่อง

วัตถุประสงค์
1. เพื่อยกระดับคุณภาพของนักเรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนให้สูงขึ้น
2. เพื่อพัฒนาคุณภาพของบุคลากรในโรงเรียนให้สูงขึ้น
3. เพื่อส่งเสริมขวัญและกำลังใจของบุคลากร
เป้าหมาย
ด้านคุณภาพ
นักเรียนทุกระดับชั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงขึ้นโดยเฉลี่ยร้อยละ 75 ภายในปีการศึกษา 2555
ด้านปริมาณ
มีการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน / ห้องเรียน เดือนละ 1 ครั้ง / คน
วิธีดำเนินการ
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุกได้ประชุมชี้แจงบุคลากรเกี่ยวกับการดำเนินการนิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนร่วมทั้งวิธีการเตรียมรับการนิเทศจากคณะนิเทศของสถานศึกษาแก่บุคลากรได้รับทราบก่อนเปิดภาคเรียน และการแต่งตั้งคณะทำงานดำเนินการนิเทศและกำกับติดตามการดำเนินงานของครูผู้รับการนิเทศให้ปฏิบัติงานให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ ซึ่งหมายถึงผลดีที่เกิดกับผู้เรียนให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบต่อไป




ตารางกิจกรรม ระยะเวลาดำเนินการ
ระยะเวลา
กิจกรรม ปีการศึกษา 2552
หมายเหตุ
พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย
แต่งตั้งคณะกรรมการ
ประชุมวางแผน
ออกแบบจัดรูปแบบการนิเทศ
สร้างเครื่องมือการนิเทศ
ดำเนินการนิเทศ
กำกับติดตาม
ประเมินผล
รายงานผล








แผนภูมิระบบการนิเทศภายใน









โดยทั่วไป การนิเทศการศึกษาหรือการนิเทศการเรียนการสอน (Instruction Supervision ) ซึ่งถือเป็นเรื่องของงานวิชาการ และการพัฒนางานวิชาการในโรงเรียน เน้นในเรื่องการเรียนการสอนการให้ความช่วยเหลือ การชี้แนะ ดูแล สนับสนุนให้ครูสามารถปฏิบัติการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดำเนินการด้านการเรียนการสอนจนบรรลุจุดหมายของหลักสูตร โดยกระบวนการนิเทศและพัฒนาทั้งการสอนและตัวครูผู้สอนเท่านั้น
แท้จริงแล้วการนิเทศการเรียนการสอน เป็นเพียงระบบหนึ่งในกระบวนการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ หัวใจสำคัญของโรงเรียนคือ งานวิชาการการบริหารการศึกษา จะประสบผลสำเร็จได้ จะต้องพัฒนางานวิชาการให้มีคุณภาพ โดยหลักการบริหารการศึกษา การพิจารณางานนิเทศภายในโรงเรียนให้เป็นระบบหนึ่งของโรงเรียนและถือว่ามีความสำคัญเหมือนกัน
ถ้าจะเปรียบเทียบกับการสงคราม กิจกรรมด้านการเรียนการสอนเปรียบเหมือนการรบโดยตรง รบเพื่อยึดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อชัยชนะข้าศึกให้ได้ ในขณะที่งานอื่นเปรียบเหมือนงานที่ดำเนินการเพื่อสนับสนุนการรบให้ประสบชัยชนะ ทั้งสองส่วนมีความสำคัญไม่น้อยกว่ากัน แต่สิ่งที่แสดงถึงว่า ประสบผลสำเร็จมากน้อยเพียงใดชนะหรือไม่ คือ ส่วนที่เป็นผลมาจากการเรียนการสอนโดยตรง งานนิเทศทั้งระบบภายในโรงเรียนจึงประกอบด้วย การนิเทศงานและการนิเทศการศึกษา (อุทัย บุญประเสริฐและชโอม ภิงคารวัฒน์. 2528 : 19-21)
ภาพรวมระบบการนิเทศภายในโรงเรียน อุทัย บุญประเสริฐและชโอม ภิงคารวัฒน์. 2528 : 19-21 กล่าวถึงระบบการนิเทศภายในโรงเรียนว่า ภารกิจการประถมศึกษาและโครงสร้างองค์การ (Organization Structure) ดังแผนภูมิต่อไปนี้

แผนภูมิแสดงรายละเอียดระบบการนิเทศภายในโรงเรียน




















หลักการนิเทศภายใน
ชัดเจน ไทยแท้ กล่าวว่า การนิเทศภายในโรงเรียน จะสำเร็จหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับหลักการสำคัญ ๆดังนี้

หลักการพื้นฐานสำหรับบุคากร
1. ผู้บริหารโรงเรียนต้องตระหนักว่า การนิเทการศึกษาภายในโรงเรียนเป็นงานในความรับผิดชอบของผู้บริหารโดยตรง
2. การบริหารโรงเรียนต้องเกิดจากสภาพปัญหาและความต้องการ เพื่อยกระดับคุณภาพของโรงเรียนอย่างแท้จริง
3. บุคลากรในโรงเรียนต้องยอมรับ และพร้อมที่จะยอมรับให้เกียรติซึ่งกันและกัน จากสภาพความเป็นจริงแล้วไม่มีใครเชี่ยวชาญไปทุก ๆ ด้าน ดังนั้นจึงน่าจะได้มีการแลกเปลี่ยน ถ่ายเทความเชี่ยวชาญจากเพื่อน เพื่อให้ทุกคนในหน่วยงานมีความรู้ความสามารถสูงขึ้น
4. พึงระลึกเสมอว่า การเสริมกำลังใจจากผู้บริหารจะมีผลโดยตรงต่อผู้ปฏิบัติ

หลักการในเชิงปฏิบัติ
1. ผู้ร่วมงานต้องรับรู้ขั้นตอนของการดำเนินงาน ต้องมีการปรึกษาหารือกันทุกฝ่าย
2. บรรยากาศการทำงานมีลักษณะเป็นประชาธิปไตย คือ ยอมรับความคิดเห็น ความสามารถ บทบาทหน้าที่ ที่จะสร้างกำลังใจแก่กันและกัน
3. เมื่อร่วมกระบวนการนิเทศภายในโรงเรียนแล้ว บุคลากรที่ร่วมกระบวนการ จะต้องพัฒนาทั้งความรู้และความสามารถเพิ่มขึ้น
4. งานที่ผ่านกระบวนการนิเทศต้องพัฒนา

จากหลักการของการนิเทศภายใน จะเห็นได้ว่าครูมีความสำคัญและจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าในหลักการพื้นฐานสำหรับบุคลากรและหลักการในเชิงปฏิบัติ ซึ่งเปรียบเหมือนข้อตกลงเบื้องต้นและลงมือปฏิบัติการนิเทศภายในโรงเรียนอย่างจริงจังต่อไป (ชัดเจน ไทยแท้. 2535 : 2)






แผนการนิเทศโครงการ
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1 ปีการศึกษา 2552
งาน / โครงการ ปีการศึกษา 2552 ผู้รับผิดชอบโครงการ
พค มิย กค สค กย ตค พย ธค มค กพ มีค เมย
1. โครงการประชุมผู้ปกครอง
2. โครงการประชุมคณะกรรมกการฯ
3. โครงการพัฒนาระบบสารสนเทศ
4. โครงการไหว้พระสวดมนต์ ทุกวันศุกร์
5. โครงการวันสำคัญ
6. โครงการเข้าค่ายธรรมทายาท
7. ประชาธิปไตยในโรงเรียน
8. โครงการ อ.ย. น้อย
9. โครงการเส้นทางสู่ชัยชนะ
10. โครงการเด็กรุ่นใหม่ ใส่ใจสุขภาพ
11. โครงการคนดี
12. โครงการเข้าค่ายวิชาการ
13. โครงการวางทุกงาน อ่านทุกคน
14. โครงการศึกษาแหล่งเรียนรู้
15.โครงการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และ สาระท้องถิ่น
16. โครงการเรียนรู้แบบโครงงาน
17. โครงการจัดหาแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
18. โครงการมหกรรมวิชาการ
19. โครงการแต่งกายชุดอีสานพื้นเมือง
20. โครงการอบรมบุคลากรให้มีความรู้ในการผลิตสื่อและใช้สื่อ
21. โครงการพัฒนา ICT ในโรงเรียน
22. โครงการห้องสมุด
23.โครงการจัดซื้อ แบบเรียนเด็กยากจน
23. โครงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียน
24. โครงการจัดหาสนามเด็กเล่น
25. โครงการสร้างเสริมระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน
26. โครงการอบรมพัฒนาครู
27. โครงการนิเทศภายใน
28. โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
29. โครงการวิจัยในชั้นเรียน
30. โครงการผ้าป่าเพื่อการศึกษา
31. โครงการแนะแนวการศึกษา
32.โครงการธนาคารโรงเรียน
33. โครงการธนาคารขยะ
34. โครงการลูกเสือ-เนตรนารี
35. โครงการสร้างเครือข่ายสู่ชายแดนใต้
36. โครงการจัดหาครุภัณฑ์การศึกษา
37. โครงการซ่อมแซมครุภัณฑ์
38. โครงการจัดซื้อวัสดุสื่อการศึกษา
39. โครงการจัดหาเครื่องดนตรี
40. โครงการประกันคุณภาพการศึกษา
41. โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
42. โครงการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา

43. โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปี
44. โครงการรายงานผลการพัฒนาคุณภาพการศึกษา
45. โครงการซ่อมแซมอาคารเรียน/อาคารประกอบ
46. โครงการจัดหาวิทยากรฝึกอาชีพ
47. โครงการสหกรณ์ร้านค้า
48. โครงการบันทึกรายรับ-รายจ่ายประจำวัน
49. โครงการฝึกอาชีพตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- กิจกรรมเลี้ยงไก่ไข่
- กิจกรรมเลี้ยงปลานิล
- กิจกรรมปลูกเห็ดมือถือ
- กิจกรรมเลี้ยงกบคอนโด
- กิจกรรมปลูกผักสวนครัว
- กิจกกรมปลูกผักไร้ดิน
- กิจกรรมเพาะพันธุ์กล้าไม้




เครื่องมือนิเทศภายใน
โรงเรียนบ้านน้ำสวยห้วยปลาดุก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1

ชั้น / ห้องเรียน ......................ชื่อผู้สอน.................................................................................................
ครั้งที่......../................... วัน .....................ที่. ..............เดือน ...........................................พ.ศ. ......................
กลุ่มสาระการเรียนรู้......................................... บทที่/ หน่วยที่ ................. เรื่อง...............................
วัตถุประสงค์
1. ......................................................................................................................................................
คำชี้แจง ทำเครื่องหมาย / ลงในช่องผลการปฏิบัติงานตามสภาพที่เป็นจริง
ที่ รายการปฏิบัติ ระดับความคิดเห็น
4 3 2 1 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ธุรการชั้นเรียนเป็นปัจจุบัน
2. บันทึกความดี
3. บันทึกการอ่าน / บันทึกการส่งเสริมพัฒนาการอนุบาล
4. บันทึกการออมทรัพย์
5. บันทึกการแปรงฟัน
6. บันทึกการดื่มนม
7. บันทึกการทำเวรประจำวัน
8. บันทึกการทำความสะอาดห้องส้วม
9. บันทึกการทำความสะอาดเขตบริการ
10. บันทึกการตรวจสุขภาพ
11. บันทึกการเยี่ยมบ้าน
12. บันทึกข้อมูลนักเรียนรายบุคคล
13. การทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง
14. ข้อมูลนักเรียนที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ และบันทึกการให้ความช่วยเหลือ
15. ข้อมูลนักเรียนยากจน และการรับทุน
16. แฟ้มเกียรติบัตรครู/ นักเรียน
17. แผนการจัดการเรียนรู้ครบทุกระดับชั้น/ทุกกลุ่มสาระและมีบันทึกหลังสอน
18. มีสื่อการเรียนการสอนเพียงพอ
19. ห้องเรียนสะอาด เอื้อต่อการเรียนรู้
20. มีป้ายนิเทศประจำห้องเรียนทันสมัยทันเหตุการณ์
21. ครูตรงต่อเวลาต่อการสอน
22. บันทึกรายรับ – รายจ่ายประจำวัน
23. นักเรียนตรงต่อเวลา มีสัมมาคารวะ
24. นักเรียนแต่งกายสะอาดเรียบร้อย ถูกระเบียบ
25. มีที่วางไม้กวาด
26. ห้องเรียนมีมุมประสบการณ์และมุมหนังสือ
27. ครูอุทิศเวลาให้แก่ทางราชการและการสอน
28. บันทึกวินัยในชั้นเรียนของแต่ละกลุ่มสาระกาเรียนรู้
รวม
รวมทั้งหมด

สรุป
ผ่าน ( 75 – 112 )

ไม่ผ่าน (น้อยกว่า 75 )

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ

บทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ ทำนองสรภัญญะ
องค์ใดพระสัมพุทธ สุวิสุทธสันดาน
ตัดมูลเกลศมาร บ่ มิหม่น มิหมองมัว
หนึ่งในพระทัยท่าน ก็เบิกบานคือดอกบัว
ราคี บ พันพัว สุวคนธ กำจร
องค์ใดประกอบด้วย พระกรุณาดังสาคร
โปรดหมู่ประชากร มละโอฆกันดาร
ชี้ทางบรรเทาทุกข์ และชี้สุขเกษมสานต์
ชี้ทางพระนฤพาน อันพ้นโศกวิโยคภัย
พร้อมเบญจพิธจัก- ษุจรัสวิมลใส
เห็นเหตุที่ใกล้ไกล ก็เจนจบประจักษ์จริง
กำจัดน้ำใจหยาบ สันดานบาปแห่งชายหญิง
สัตว์โลกได้พึ่งพิง มละบาปบำเพ็ญบุญ
ข้าขอประณตน้อม ศิรเกล้าบังคมคุณ
สัมพุทธการุญ- ญภาพนั้นนิรันดร (กราบ)
บทสวดสรรเสริญพระธรรมคุณ ทำนองสรภัญญะ
ธรรมะคือคุณากร ส่วนชอบสาธร ดุจดวงประทีปชัชวาล
แห่งองค์พระศาสดาจารย์ ส่องสัตว์สันดาน สว่างกระจ่างใจมล
ธรรมใดนับโดยมรรคผล เป็นแปดพึงยล และเก้านับทั้งนฤพาน
สมญาโลกอุดรพิสดาร อันลึกโอฬาร พิสุทธิ์พิเศษสุกใส
อีกธรรมต้นทางครรไล นามขนานขานไข ปฏิบัติปริยัติเป็นสอง
คือทางดำเนินดุจครอง ให้ล่วงลุปอง ยังโลกอุดรโดยตรง
ข้าขอโอนอ่อนอุตมงค์ นบธรรมจำนง ด้วยจิตและกายวาจาฯ (กราบ)
บทสวดสรรเสริญพระสังฆคุณ ทำนองสรภัญญะ
สงฆ์ใดสาวกศาสดา รับปฏิบัติมา แต่องค์สมเด็จภควันต์
เห็นแจ้งจตุสัจเสร็จบรรลุทางที่อันระงับและดับทุกข์ภัย
โดยเสด็จพระผู้ตรัสไดร ปัญญาผ่องใส สะอาดและปราศมัวหมอง
เหินห่างทางข้าศึกปอง บ มิลำพอง ด้วยกายและวาจาใจ
เป็นเนื้อนาบุญอันไพ- ศาลแด่โลกัย และเกิดพิบูลย์พูนผล
สมญาเอารสทศพล มีคุณอนนต์ อเนกจะนับเหลือตรา
ข้าขอนพหมู่พระศราทรงคุณา นุคุณประดุจรำพัน
ด้วยเดชบุญข้าอภิวันท์ พระไตรรัตน์อัน อุดมดิเรกนิรัติศัย
จงช่วยขจัดโพยภัย อันตรายใดใด จงดับและกลับเสื่อมสูญ (กราบ)
(สวดนำเดี่ยว)
ปาเจราจริยา โหนติ คณุตะรานุสาสกา
(สวดพร้อมกัน - สวดทำนองสรภัญญะ)
ข้าฯขอประณตน้อมสักการ บูรพคณาจารย์ ผู้กอปรเกิดประโยชน์ศึกษา
ทั้งผู้ประสาทวิชา อบรมจริยาแก่ข้าฯ ในการปัจจุบันข้าฯ ขอเคารพอภิวันท์
ระลึกคุณอนันต์ด้วยใจนิยมบูชา ขอเดชกตเวทิตา อีกวิริยะพา
ปัญญาให้เกิดแตกฉาน ศึกษาสำเร็จทุกประการ อายุยืนนาน
อยู่ในศีลธรรมอันดี ให้ได้เป็นเกียรติเป็นศรี ประโยชน์ทวี
แก่ข้าฯและประเทศไทยเทอญฯ
(สวดสรุปเดี่ยว)
ปัญญาวุฑฒิกะเรเตเต ทินโนวาเท นะมามิหัง

การเลี้ยงกบ

การเลี้ยงกบในปัจจุบัน ลูกกบที่นำมาเลี้ยงได้มาจาก 2 แหล่ง คือ
1. ลูกกบจากธรรมชาติ
เป็นการรวบรวกบที่มีอยู่ในธรรมชาติมาเลี้ยงในบ่อ จนกระทั่งได้ขนาดก็จับขาย ามารถแบ่งเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.1 การรรวบรวมลูกอ๊อดและการอนุบาล ทำการรรวบรวมไข่กบที่ผสมแล้ว จากแหล่งน้ำธรรมชาติมาพาะฟักและอนุบาลในบ่อที่เตรียมไว้ หรืออาจช้อนลูกอ็อดถบที่พบเห็น อยู่ตามธรรมชาติมาเลี้ยงล หรือโดยการจับพ่อแม่พันธุ์กบ ในช่วงต้นฤดูฝนมาเลี้ยงในบ่อเพื่อ ให่ผสมพันธุ์กันและออกไข่ในบ่อเลี้ยง ป็นต้น
อุปสรรดส่าคัญของการจับลูกอ๊อดมาเลี้ยงก็คือ มักจะมีลูกอ๊อดของเขียด หรือคางคกปะปนมาด้วยผู้จับจึงต้องมีความรู้และความชำนาญในการเลือก ข้อสังเกตุง่าย ๆ คือ หัวลูกอ๊อตเขียดจะแหลมกว่าหัวลูกอ๊อดกบ ขนาดตัวก็เล็กกว่ารวมทั้งลายที่หลังและเส้นขาวที่พาด ตามลำตัวก็ไม่เหมือนกัน สีที่ด้านหลังและส่วนท้องก็แตกต่างกัน และถึงแม้จะเป็นลูกอ็อดกบ แต่กบก็มีหลายชนิด เช่น กบบัว ชี่งมีขนาดโตเต็มที่เพียงแค่ 15 กรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประสบการณ์ของผู้เลี้ยง

การรวบรวมลูกกบจากธรรมชาติเพื่อนำมาเลี้ยงมีหลายวิธีเช่น
1.1.1 การจับด้วยมือเปล่าโดยใช้ไฟฉายหรือตะเกียงส่องแล้วใช้มือตะปบ จับใส่ถุงผ้าที่สะพายติดตัวไป
1.1.2 การจับด้วยแห จะใช้แหที่มีตาถี่ ทอดเหวี่ยงโดยวิธีเดียวกับการจับปลา
1.1.3 การจับด้วยการขุดหลุมดัก ทำหลุมลึกประมาณ 1 เมตรในบริเวณ ที่มีลูกกบชุกชุม ก้นหลุมวางอาหารผสมหรืออาหารหมักล่อไว์ในตอนเย็น ปากหลุมราดน้ำให้ เปียกชุ่มปรับให้เรียบและลื่นเป็นมัน ลูกกบจะมากินอาหารในตอนกลางคืนแล้วไม่สามารถขึ้น จากหลุมได้ ในตอนเช้าจึงมารวบรวมลูกกบ อย่าปล่อยทิ้งไว้ข้ามวันลูกกบจะมีโอกาสตายได้มาก
1.1.4 การจับด้วยเครื่องมือดัก คล้ายไชดักปลา ด้านหน้ามีทางเข้าทางเดียว ด้านท้ายมีประตูเปิดปิดได้ เมื้อลูกกบเข้าแล้วจะออกไม่ได้ เมื่อต้องการจะใช้งานนำเครื่องมือนี้็ ให้ฝังดินให้พื้นล่างเสมอกับผิวดิน ปิดด้วยหญ้า ราดน้ำพอชุ่ม ด้านหน้าปรับผิวดินให้ลื่น ภายใน เครื้องมือดักใส่อาหารล่อ ลูกกบจะเข้าไปกินอาหารในตอนกลางคืน ตอนเช้าจึงรวบรวมลูกกบที่ได้
1.2 การเลี้ยงลูกกบ ภายหลังจากลูกอ๊อดเจริญกลายเป็นกบแล้ว จะดำเนินการ อนุบาลจนกระทั่งเติบโตได้ขนาดจึงปล่อยลงบ่อเลี้ยง ลูกกบที่ปล่อยลงบ่อเลี้ยงนี้นิยมลูกกบ ที่มีขนาด 3-5 เชนติเมตรขี้นไป หรือถ้ารวบรวมจากธรรมชาติก็ต้องมีขนาดที่ทราบแน่นอนแล้ว ว่าเป็นลูกกบ